S E A R C H

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สปาตะวันตกและสปาไทยพื้นบ้าน

สปาตะวันตกและสปาไทยพื้นบ้าน

ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดประเภทของ "สปาไทย-สปาตะวันตก" ตามลักษณะของธุรกิจสปา โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ คือ

1. "สปาแบบตะวันตก"


เป็นการให้บริการ "สปา" ในรูปแบบที่เน้นต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย มีราคาสูงจากต่างประเทศ ผู้ให้บริการด้านสปาต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ทั้งยังต้องสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับสปา แก่ผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดี เครื่องมือที่ใช้ เช่น ออกซิเจน โซลาร์ สปา เครื่องอบเซาวน่า เครื่องอินฟราเรด เซาวน่า เป็นต้น
2. "สปาแบบไทยประยุกต์"



เป็นการให้บริการ "สปา" ที่ผสมผสานระหว่างสปาตะวันตกและสปาแบบตะวันออกเข้าด้วยกัน โดยนำเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการสปา ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นบ้านของไทย สปาในรูปแบบนี้เรียกกันว่า "สปาไทย"

3. "สปาแบบไทยแท้ หรือ สปาไทยพื้นบ้าน"




สปาไทย หมายถึง การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วย วิถีไทย ประโยชน์ที่ได้รับจากการดูแลสุขภาพด้วยสปาไทยนั้นจะทำให้ได้รับการผ่อนคลาย แจ่มใส อ่อนเยาว์ มีพลัง สดชื่น มีความสุข การดูแลสุขภาพด้วยสปาไทย ประกอบด้วยการผสมผสานกิจกรรมต่างๆ เพื่อสุขภาพที่หลากหลาย เช่นการใช้น้ำเพื่อสุขภาพ การนวด การ อบตัวด้วยสมุนไพร การพอกตัวและขัดผิว การทำสมาธิ การออกกำลังกาย และการโภชนาการ เป็นต้น

ร่องรอยแห่งภูมิปัญญาไทยสปาไทย คือมรดกไทยเพื่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล สู่อนุชนคนรุ่นหลัง สามารถสืบค้นร่องรอยแห่งภูมิปัญญาไทยดังกล่าวได้จาก ใบลาน ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพลายไทย ปรากฏตามระเบียงโบสถ์ และสถานที่ต่างๆ เช่น อโรคยาศาลา เป็นประสาทหินแบบเขมร ที่จะหาดูได้บริเวณ จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว สุรินทร์ นับเป็นแหล่งเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยวิถีไทย รูปปั้นฤาษีดัดตนที่วัดโพธิ์ เป็นภูมิปัญญาไทยของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตัวอย่างของภูมิปัญญาไทยที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา

สมุนไพรไทย ที่ใช้บำรุงผิว เช่น ขมิ้นชัน ว่านนางคำ สมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องดื่ม ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง น้ำขิง น้ำตะไคร้ เป็นต้น สมุนไพรไทยที่ใช้บำรุงศีรษะ ขจัดรังแค ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม ได้แก่ น้ำผลมะกรูด นอกจากนี้ยังมีการขัดตัวด้วยมะขามเปียกกับขมิ้นชันทำให้ผิวสวยงาม มีความต้านทานเชื้อโรคสูง นับเป็นการใช้ภูมิปัญญไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน
น้ำแร่ธรรมชาติของไทย (สปา) ตามแหล่งธรรมชาติต่างๆ เช่น บ่อน้ำร้อน จ.ระนอง บ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน จ.ลำปาง บ่อน้ำร้อนสวนผึ้ง จ.ราชบุรี พุน้ำร้อนหินตาด จ.กาญจนบุรี เป็นต้น ซึ่งน้ำแร่เหล่านี้ สามารถรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้เพราะมีสารกัมมะถันปนอยู่ด้วย

หลากหลายรูปแบบคือความงาม

การจัดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของสปาไทย มีหลากหลายรูปแบบ สิ่งต่างๆ เหล่านี้คือความสามารถอันเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย กล่าวคือสปาไทยสามารถปรับสภาวะของร่างกายและจิตใจให้สมดุล สอดคล้องกับธาติเจ้าเรือนของผู้มาใช้บริการ สปาไทย สามารถจัดการให้สอดคล้องกับภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และภูมิประเทศ เช่น ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ โดยจะมีการใช้ว่าน สมุนไพร และองค์ประกอบอื่นๆ ของสปาตามท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป สปาแต่ละแห่งจะมีเมนูที่หลากหลาย ปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้เป็นอย่างดี

เอกลักษณ์สปาไทย

เอกลักษณ์สปาไทย คือเสน่ห์แห่งตะวันออกที่มีลักษณะเด่น ที่จะพบได้ ณ สปาไทย ในประเทศไทย อันประกอบด้วย การผสมผสานวัฒนธรรมอันอ่อนโยนกับการบริการสปาไทย คือ การนวดไทย สัมผัสกลิ่นอายแห่งมิตรไมตรีแบบไทย กลิ่นหอมจรุงใจแบบไทยด้วยดอกไม้ไทย สมุนไพรไทย เครื่องดื่มไทย และอาหารเพื่อสุขภาพแบบไทย อีกทั้งยังมีสิ่งแวดล้อม สถานที่ ภูมิอากาศ ทะเล เกาะ แก่ง หาดทราย ขุนเขา แมกไม้ พรรณไม้หอมนานาพรรณแบบไทย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะสัมผัสได้ในสปาไทยเท่านั้น อันเป็นมนต์เสน่ห์แห่งตะวันนออกและเป็นเอกลักษณ์ของสปาไทยอย่างแท้จริง


คุณภาพมาตรฐานสปาไทย

กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำมาตรฐานสปาไทย เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าคุณภาพของสปาไทยมีมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขภาพต่อผู้มารับบริการ โดยได้กำหนดมาตรฐานดูแลคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคถึง 5 ด้านด้วยกัน คือ

1. มาตรฐานว่าด้วยผู้ดำเนินการ

2. มาตรฐานว่าด้วยลักษณะโดยทัวไป

3. มาตรฐานว่าด้วยผู้ให้บริการ

4. มาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัย

5. มาตรฐานว่าด้วยการกำหนดราคา


สปาไทยสู่สากล

กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนการพัฒนาสปาไทย ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสู่สากล นำมาสู่การสร้างรายได้ของธุรกิจบริการสปาไทย เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ

 
การจัดประเภทของสปาไทย

ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดประเภทของ "สปาไทย-สปาตะวันตก" ตามลักษณะของธุรกิจสปา โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ คือ

1. "สปาแบบตะวันตก"

เป็นการให้บริการ "สปา" ในรูปแบบที่เน้นต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย มีราคาสูงจากต่างประเทศ ผู้ให้บริการด้านสปาต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ทั้งยังต้องสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับสปา แก่ผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดี เครื่องมือที่ใช้ เช่น ออกซิเจน โซลาร์ สปา เครื่องอบเซาว์น่า เครื่องอินฟราเรด เซาว์น่า เป็นต้น

2. "สปาแบบไทยประยุกต์"

เป็นการให้บริการ "สปา" ที่ผสมผสานระหว่างสปาตะวันตกและสปาแบบตะวันออกเข้าด้วยกัน โดยนำเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการสปา ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นบ้านของไทย สปาในรูปแบบนี้เรียกกันว่า "สปาไทย"

3. "สปาแบบไทยแท้ หรือ สปาไทยพื้นบ้าน"

คือ "สปา" ที่เกิดจากการฟื้นฟูภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมของคนไทยในด้านการดูแลสุขภาพแบบโบราณ นำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบสปา โดยยังดำรงค์รักษาแบบพื้นบ้าน เช่น การอาบสมุนไพร การอบสมุนไพร การนวดสมุนไพรไทย การแช่น้ำสมุนไพร การนวดประคบ ขัดผิว การอยู่ไฟหลังคลอดบุตร ตามวิถีธรรมชาติของบรรพบุรุษชาติไทย ที่มีความเรียบง่ายและมีกลิ่นไอพื้นบ้านของไทย ผู้ให้บริการในสปาไทยพื้นบ้าน มักมีความสามารถในเชิงบำบัดเทียบได้ใกล้เคียงกับหมอพื้นบ้านในอดีต โดยเน้นการผ่อนคลายและการบำบัดโรคบางชนิด สถานที่ของสปาไทยพื้นบ้านจะมีการตกแต่งโดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น ในรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยอาจจะจัดสถานที่บริการให้มีบรรยากาศเหมือนอยู่ในบ้านหรือสวน และนำเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของไทยมาประยุกต์ให้เข้ากับบรรยากาศของสปา

เรียบเรียงบทความ "สปาไทย" โดยกองบรรณาธิการ www.ok-spa.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น