กลิ่นต่าง ๆที่ผ่านเข้าโพรงจมูกสู่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์
ความจำและการเรียนรู้ โดยผ่านปลายเส้นประสาทในการรับรู้กลิ่น
มีอิทธิพลต่อมนุษย์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
หากเรารู้จักเลือกนำเอากลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยมาใช้ให้เหมาะสมตามธาตุในร่างกายของเราจะได้รับประโยชน์อย่างมากมายทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพและความสมดุล
สร้างสุขภาวะที่ดีต่อร่างกายของเรา
"ธาตุดิน" คือผู้ที่เกิดใน เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน เดือนธันวาคม
น้ำมันหอมระเหย ที่เหมาะสมคือ
• น้ำมันหอมระเหยไพล
(Plai)
น้ำมันหอมระเหยไพล มีประโยชน์อย่างมากในตำรายาแผนโบราณของไทย
มีการนำทุกส่วนของไพลมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำน้ำมันจากไพลมาใช้แก้แผลเปื่อย
บวม แก้เจ็บคอ แก้อาการเคล็ดขัดยอกฟกช้ำและขับเลือดเสีย
ในปัจจุบันมีการใช้น้ำมันหอมระเหยไพลสำหรับการนวดและอโรมาเทอราปี
เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและบรรเทาอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยต่าง ๆ
ลดการอักเสบและเป็นยาชาเฉพาะที่
• น้ำมันหอมระเหยพิมเสนต้น
(Patchouli)
แพทซูลี่หรือพิมเสนต้นเป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีลักษณะหนืด
มีสีส้มอำพันและมีกลิ่นติดทนนาน มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ สามารถรักษาสิว
ผิวหนังอักเสบ
ผดผื่นคันได้หรือนำไปใช้เพื่อความงามโดยมีคุณสมบัติช่วยให้ผิวที่หยาบกร้านมีริ้วรอยชุ่มชื้นขึ้น
นำไปหมักผมเพื่อขจัดรังแค ปรับสภาพผมแห้งให้ดีขึ้น ทำให้เส้นผมเป็นเงางาม
บรรเทาอาการเครียด ลดการหดหู่ กระตุ้นระบบประสาท
• น้ำมันหอมระเหยมะลิ
(Jasmine)
สกัดจากดอกมะลิ มีสีขาวใส กลิ่นหอมหวานแบบดอกมะลิ
ให้ความรู้สึกอ่อนหวานละมุนละไม
ช่วยระงับพิษและบรรเทาความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อได้ดี แต่ไม่ควรใช้ขณะตั้งครรภ์
ช่วยลดความท้อแท้หดหู่ บรรเทาอาการนอนไม่หลับ แก้ปัญหาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
•
น้ำมันหอมระเหยจันทร์หอม (Sandal Wood)
แซนเดิ้ลวูดหรือจันทร์หอม
ได้รับการยอมรับว่าเป็นน้ำมันหอมระเหยจากแก่นไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก
มีสีเหลืองอ่อนใสกลิ่นหอมหวานติดทนนาน ให้ความรู้สึกสุขสบาย ช่วยลดความเครียด
ผ่อนคลายจิตใจให้สงบเสริมสร้างสมาธิ ช่วยทำให้นอนหลับ
เป็นส่วนประกอบสำคัญของตำราอายุรเวทอินเดียโบราณ ในการบำบัดรักษาต่าง ๆ
บำรุงผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นสำหรับผิวแห้ง ลดการอักเสบป้องกันการติดเชื้อ
สมานผิวและรักษาผมเสียได้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น